Background
บทความ

ยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์: เทคโนโลยีและกลยุทธ์ป้องกันภัยคุกคาม 2025

ลงเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2568

FacebookLineTwitter
ยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์: เทคโนโลยีและกลยุทธ์ป้องกันภัยคุกคาม 2025

การพัฒนาเทคโนโลยีและการเติบโตของธุรกิจทำให้เกิดช่องโหว่ในการโจมตีทางไซเบอร์ องค์กรจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคาม จากผลสำรวจของ Gartner พบว่าในปี 2024 องค์กรทั่วโลกมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยแบ่งเป็น 41.2% สำหรับคลาวด์, 33.1% สำหรับคลังข้อมูล, 16.8% สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน, 12.6% สำหรับการจัดการความเสี่ยงทั่วไป และ 11.4% สำหรับบริการด้านความปลอดภัย โดยคาดว่าค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัยของข้อมูลทั่วโลกจะสูงถึง 10.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2025 โดยมีประเด็นที่น่าจะตามองกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ดั้งนี้


-AI ปฏิวัติวงการความปลอดภัยไซเบอร์ โดยการวิเคราะห์ และตอบสนองต่อช่องโหว่จากการตรวจจับภัยคุกคามแบบเรียลไทม์ ช่วยคาดการณ์แนวโน้มการโจมตีในอนาคตและปรับปรุงการป้องกัน รวมถึงการตอบสนองต่อเหตุการณ์อัตโนมัติจากการเคลื่อนไหวของผู้โจมตีในเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว สามารถรักษาความปลอดภัยจากการโจมตีหลากหลายรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ


-ป้องกันภัยคุกคามต่อการเข้ารหัสข้อมูลด้วย Quantum computing เพื่อพัฒนาระบบความปลอดภัยของข้อมูลจากพลังประมวลผลที่แตกต่างจากอัลกอริธึมการเข้ารหัสแบบเดิม โดยเฉพาะองค์กรที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น ธุรกิจการเงินและการแพทย์ ซึ่งต้องปกป้องข้อมูลลับจำนวนมหาศาลจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์


-แก้ปัญหาช่องโหว่ด้านความปลอดภัยด้วยระบบ IoT (Internet of Things) จากการเชื่อมต่อระบบของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อต้องได้รับการอนุญาตก่อนการเข้าถึงระบบ ซึ่งสามารถตรวจจับพฤติกรรมที่มีความผิดปกติและตรวจจับการโจมตีได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุม นอกจากนี้ระบบยังมีความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวเพื่อรับมือกับภัยคุกคามใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


-การเกิดช่องโหว่ Zero-Day คือ ช่องโหว่การโจมตีรูปแบบใหม่ของแฮกเกอร์ปลอดภัย ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของระบบดิจิทัลและการใช้ AI ของผู้โจมตีในการค้นหาช่องโหว่ระหว่างการพัฒนาหรือแก้ไขระบบซอฟต์แวร์ 


-การโจมตีแบบ Supply Chain คือ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลระหว่างธุรกิจและSupplier จากฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์มัลแวร์ (Malware) และแอปพลิเคชันภายนอกซึ่งเป็นจุดอ่อนในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการเกิดช่องโหว่จากการติดต่อระหว่างธุรกิจกับผู้ขาย รวมถึงบุคคลที่สาม


ในปี 2025 การปรับกลยุทธ์เชิงรุกและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อปกป้องข้อมูลซึ่งเป็นทรัพย์สินสำคัญที่ช่วยสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ  บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมให้บริการ Data Center, Internet Access, Cloud Solution และ Digital Platform ที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจยุคดิจิทัล รองรับการทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยมาตรฐานระดับสากลกว่า 11 ปี


ขอบคุณข้อมูลจาก: https://cybersecurityventures.com/cybersecurity-spending-2021-2025/ 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

INET ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพะเยา สร้างเครือข่ายพัฒนาความรู้และทักษะวิชาชีพด้านเทคโนโลยี

วันที่ 4 ก.พ. 2568

INET ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพะเยา สร้างเครือข่ายพัฒนาความรู้และทักษะวิชาชีพด้านเทคโนโลยี

ความร่วมมือ

INET ต้อนรับนักลงทุนในกิจกรรม Investor Insight  เจาะลึกธุรกิจ เสริมความมั่นใจ พร้อมวิสัยทัศน์สู่อนาคตดิจิทัล

วันที่ 27 ม.ค. 2568

INET ต้อนรับนักลงทุนในกิจกรรม Investor Insight  เจาะลึกธุรกิจ เสริมความมั่นใจ พร้อมวิสัยทัศน์สู่อนาคตดิจิทัล

ธุรกิจ

INET ร่วมแสดงความยินดีกับ depa ในงาน The 8th Founding Anniversary of depa "เปิดบ้านหลังใหม่ พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลไทย depa of the Future

วันที่ 24 ม.ค. 2568

INET ร่วมแสดงความยินดีกับ depa ในงาน The 8th Founding Anniversary of depa "เปิดบ้านหลังใหม่ พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลไทย depa of the Future

ความร่วมมือ

inet

© Copyright 2024, Internet Thailand Public Company Limited.