บริการของเรา
ทำงานคล่องตัวทุกที่ ทุกเวลา ด้วย Cloud VDI
ในยุคดิจิทัลที่องค์กรต้องการความยืดหยุ่นและความสะดวกในการทำงาน Cloud VDI เทคโนโลยีอัจฉริยะที่มีการทำงานผ่านระบบโครงสร้างพื้นฐานเสมือน (Virtual Desktop Infrastructure - VDI)
เป็นทางเลือกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยขององค์กรได้อย่างดี บทความนี้จะพามาทำความรู้จักกับระบบ Virtual Desktop Infrastructure - VDI
รวมถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้ที่จะเข้ามาช่วยในการทำงานและดำเนินธุรกิจได้อย่างไร
รู้จักกับ Cloud VDI
Virtual Desktop Infrastructure หรือ VDI คือ ระบบคอมพิวเตอร์เสมือนที่จำลองอุปกรณ์พร้อมระบบปฏิบัติการขึ้นมา
โดยจะเก็บข้อมูลผู้ใช้งานไปยังระบบ Cloud สามารถเข้าถึงระบบและข้อมูลจากอุปกรณ์ใดก็ได้เพียงแค่เชื่อมอินเทอร์เน็ต
ช่วยให้เข้าถึงการทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลา เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการทำงานมากยิ่งขึ้น
คุณสมบัติหลักของ Cloud VDI
1. สะดวกต่อการทำงาน
มีระบบที่รองรับการใช้งานจากทุกที่ เชื่อมต่อได้ทุกอุปกรณ์ ทำให้สะดวกต่อการทำงาน
2. มีความปลอดภัยสูง
มีการป้องกันการเข้าถึงที่ไม่พึงประสงค์และลดความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล
3. การควบคุมการเข้าถึง
อนุญาตให้เฉพาะผู้ใช้ที่ได้รับสิทธิ์เข้าถึงระบบเท่านั้น มีการยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้งาน ช่วยให้สามารถควบคุมและจัดการอุปกรณ์ได้ดี
4. การจัดเก็บข้อมูล
มีการควบคุมการบริการจัดการข้อมูลภายใน รวมถึงมีระบบสำรองข้อมูลที่ช่วยป้องกันการสูญหายของข้อมูลได้
5. มีทีมสนับสนุน
มีบริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง จากผู้เชี่ยวชาญด้าน Solution
Cloud VDI เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การทำงานมีความสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มความคล่องตัวและความปลอดภัยให้กับองค์กรยุคใหม่
การนำมาใช้ในการทำงานช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวกับการทำงานยุคดิจิทัล ได้ดียิ่งขึ้นอีกทั้งยังทำให้การทำงานสะดวกต่อการเข้าถึงได้ในทุกการใช้งาน
เว็บไซต์อ้างอิง
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
วันที่ 5 พ.ค. 2568
ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมได้เข้าสู่ยุค Digital Transformation แล้ว ด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า เช่น IoT, AI การมีระบบอัตโนมัติและการเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์ ทำให้มีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีภายในระบบที่เชื่อมโยงถึงกันตลอดเวลา ขณะเดียวกันภัยไซเบอร์มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาคอุตสาหกรรมจึงควรมีระบบ Cyber Security เพื่อรักษาความปลอดภัย ป้องกันการถูกโจมตีจากไซเบอร์ที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้องค์กรจึงควรมีการพัฒนาไปสู่แนวคิดที่ลึกกว่าคือ Cyber Resilience หรือ“ความสามารถในการฟื้นตัวและรับมือภัยไซเบอร์อย่างเป็นระบบ” โดยจากสถิติในปี 2024 พบว่า ภาคการผลิตคือเป้าหมายโจมตีไซเบอร์สูงที่สุดในโลก ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา จึงถึงเวลาแล้วที่โรงงานและภาคอุตสาหกรรมต้องหันมาให้ความสำคัญกับระบบ Cyber Security ผ่านแนวคิด Cyber Resilience ที่ไม่ใช่แค่ระบบป้องกัน แต่คือ “วัฒนธรรมความมั่นคงทางไซเบอร์” ไว้ในทุกส่วนขององค์กร
บทความ
วันที่ 5 พ.ค. 2568
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบันมีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้นทุกวัน การเตรียมตัวเพื่อลดความเสี่ยงสำหรับการป้องกันภัยทางไซเบอร์ ช่วยให้สามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที บทความนี้จะพามาดู 5 เหตุผลว่าทำไมองค์กรถึงควรมี Cyber Security
บทความ
วันที่ 5 พ.ค. 2568
การมีระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์แบบเรียลไทม์เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญเนื่องด้วยในยุคดิจิทัลที่การโจมตีทางไซเบอร์ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมงและข้อมูลกลายเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ การที่องค์กรมี SOC (Security Operations Center) หรือ ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เป็นแนวป้องกันด่านหน้า ที่คอยเฝ้าระวัง ตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ
บทความ