บริการของเรา
EHP CIS หนึ่งในกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนระบบบริหารจัดการของคลินิก ให้มีความทันสมัยและมีการใช้งานที่ตอบโจทย์คนยุคใหม่
รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา EHP CIS เป็นระบบบริหารจัดการคลินิก โดยในประเทศไทยมีคลินิกทั้งหมดมากกว่า 35,000 แห่งทั่วประเทศ
มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงให้แก่ประชาชน
EHP CIS จะช่วยพัฒนาคุณภาพการทำงานและการให้บริการ เพิ่มจำนวนการรองรับจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบนี้จึงเป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อบริหารจัดการข้อมูลด้านสุขภาพอย่างครบวงจร
EHP CIS คืออะไร?
EHP CIS คือ ระบบบริหารจัดการข้อมูลคลินิก ที่เชื่อมโยงทุกกระบวนการภายในสถานพยาบาล
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกข้อมูลคนไข้ การวินิจฉัยโรค การสั่งยา การออกใบรับรองแพทย์ ทำนัดหมายคนไข้ เยี่ยมคนไข้ผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการรักษาในอนาคต
ระบบนี้ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้สถานพยาบาล คลินิกหรือศูนย์บริการสุขภาพ สามารถดำเนินงานอย่างเป็นระบบมีมาตรฐานและแม่นยำมากขึ้น
จุดเด่นของ EHP CIS
1 เพิ่มความรวดเร็ว
บริหารจัดการคลินิกได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ช่วยยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2 อัปเดตข้อมูลคนไข้ตลอดเวลา
บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงประวัติสุขภาพและประวัติการรักษาของคนไข้ ได้ทุกที่ ทุกเวลา
3 รองรับการทำงานร่วมกัน
มีการเชื่อมโยงของข้อมูล ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน มีการเชื่องโยงข้อมูลระหว่างแผนก โดยบุคลากรในองค์กรสามารถประสานงานได้ในระบบเดียวกัน
4 เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ระบบมีความสะดวกและรองรับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ทำงานมีความรวดเร็ว สามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยได้มากขึ้น
5 สามารถเบิกตรงกับ สปสช.
ระบบมีการเชื่อมต่อกับ สปสช. สามารถเบิกเคลมด้วย e-Claim Online ได้ทันที
ทำไมต้องใช้ EHP CIS
การนำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ
การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบช่วยให้การทำงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์และปรับใช้เพื่อยกระดับการรักษาที่ทันสมัย
มีคุณภาพและปลอดภัย ทั้งยังสามารถวางรากฐานสู่การเป็น Smart Hospital และรองรับแนวโน้มของ Digital Health ได้อย่างเต็มรูปแบบ
นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่น เช่น Telemedicine ได้ในอนาคต
อ้างอิงเว็บไซต์ :
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
วันที่ 30 เม.ย. 2568
การโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack) ได้กลายเป็นหนึ่งในความเสี่ยงอันดับต้นๆ ที่องค์กรทั่วโลกต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ต่างมีโอกาสในการตกเป็นเป้าหมายของผู้ไม่หวังดี โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ธุรกิจมีการทำงานผ่านเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า บทความนี้จะพามาทำความรู้จัก 6 รูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์ที่พบได้บ่อย
บทความ
วันที่ 30 เม.ย. 2568
เมื่อธุรกิจในปัจจุบันมีการพึ่งพาเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ Cyber Security หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ เป็นที่น่าจับตามอง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเข้ามาช่วยป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเฉพาะในธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการถูกโจมตี โดยความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจมหาศาลทั้งด้านชื่อเสียง การเงินและการดำเนินงานขององค์กร จากสถิติในปี 2024 ที่ผ่านมานั้น พบว่า เซิร์ฟเวอร์ในประเทศไทยถูกโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นมากกว่า 125% โดยประเทศไทยถูกจัดอันดับว่าธุรกิจมีการถูกโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุดในอาเซียน มีการพยายามโจมตีมากกว่า 240,000 ครั้ง ในปี2025 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการเข้ามาของ AI ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้การโจมตีทางไซเบอร์สามาถทำได้ง่ายขึ้นและมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ช่วงเดือนที่ผ่านมาในปี 2025 มีการโจมตีทางไซเบอร์มากกว่า 580 ครั้ง
บทความ
วันที่ 30 เม.ย. 2568
AI ในปัจจุบันเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การเข้ามามีบทบาทของ AI ในชีวิตประจำวันมากขึ้นทำให้ AI กลายเป็นเทคโนโลยีที่มาแรง และกำลังถูกจับตามอง จากสถิติพบว่าคนไทยกว่า 73.84% มีการใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ประหยัดเวลาและเพิ่มความสะดวกสบาย โดยเฉพาะในธุรกิจปัจจุบันที่มีการนำ AI เข้ามาใช้ในโลกของธุรกิจ เพื่อยกระดับการทำงาน โดยธุรกิจมีการนำ AI มาใช้ในหลากหลายด้าน ดังนี้
บทความ