บริการของเรา
EHP CIS หนึ่งในกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนระบบบริหารจัดการของคลินิก ให้มีความทันสมัยและมีการใช้งานที่ตอบโจทย์คนยุคใหม่
รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา EHP CIS เป็นระบบบริหารจัดการคลินิก โดยในประเทศไทยมีคลินิกทั้งหมดมากกว่า 35,000 แห่งทั่วประเทศ
มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงให้แก่ประชาชน
EHP CIS จะช่วยพัฒนาคุณภาพการทำงานและการให้บริการ เพิ่มจำนวนการรองรับจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบนี้จึงเป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อบริหารจัดการข้อมูลด้านสุขภาพอย่างครบวงจร
EHP CIS คืออะไร?
EHP CIS คือ ระบบบริหารจัดการข้อมูลคลินิก ที่เชื่อมโยงทุกกระบวนการภายในสถานพยาบาล
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกข้อมูลคนไข้ การวินิจฉัยโรค การสั่งยา การออกใบรับรองแพทย์ ทำนัดหมายคนไข้ เยี่ยมคนไข้ผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการรักษาในอนาคต
ระบบนี้ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้สถานพยาบาล คลินิกหรือศูนย์บริการสุขภาพ สามารถดำเนินงานอย่างเป็นระบบมีมาตรฐานและแม่นยำมากขึ้น
จุดเด่นของ EHP CIS
1 เพิ่มความรวดเร็ว
บริหารจัดการคลินิกได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ช่วยยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2 อัปเดตข้อมูลคนไข้ตลอดเวลา
บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงประวัติสุขภาพและประวัติการรักษาของคนไข้ ได้ทุกที่ ทุกเวลา
3 รองรับการทำงานร่วมกัน
มีการเชื่อมโยงของข้อมูล ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน มีการเชื่องโยงข้อมูลระหว่างแผนก โดยบุคลากรในองค์กรสามารถประสานงานได้ในระบบเดียวกัน
4 เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ระบบมีความสะดวกและรองรับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ทำงานมีความรวดเร็ว สามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยได้มากขึ้น
5 สามารถเบิกตรงกับ สปสช.
ระบบมีการเชื่อมต่อกับ สปสช. สามารถเบิกเคลมด้วย e-Claim Online ได้ทันที
ทำไมต้องใช้ EHP CIS
การนำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ
การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบช่วยให้การทำงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์และปรับใช้เพื่อยกระดับการรักษาที่ทันสมัย
มีคุณภาพและปลอดภัย ทั้งยังสามารถวางรากฐานสู่การเป็น Smart Hospital และรองรับแนวโน้มของ Digital Health ได้อย่างเต็มรูปแบบ
นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่น เช่น Telemedicine ได้ในอนาคต
อ้างอิงเว็บไซต์ :
วันที่ 5 พ.ค. 2568
ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมได้เข้าสู่ยุค Digital Transformation แล้ว ด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า เช่น IoT, AI การมีระบบอัตโนมัติและการเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์ ทำให้มีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีภายในระบบที่เชื่อมโยงถึงกันตลอดเวลา ขณะเดียวกันภัยไซเบอร์มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาคอุตสาหกรรมจึงควรมีระบบ Cyber Security เพื่อรักษาความปลอดภัย ป้องกันการถูกโจมตีจากไซเบอร์ที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้องค์กรจึงควรมีการพัฒนาไปสู่แนวคิดที่ลึกกว่าคือ Cyber Resilience หรือ“ความสามารถในการฟื้นตัวและรับมือภัยไซเบอร์อย่างเป็นระบบ” โดยจากสถิติในปี 2024 พบว่า ภาคการผลิตคือเป้าหมายโจมตีไซเบอร์สูงที่สุดในโลก ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา จึงถึงเวลาแล้วที่โรงงานและภาคอุตสาหกรรมต้องหันมาให้ความสำคัญกับระบบ Cyber Security ผ่านแนวคิด Cyber Resilience ที่ไม่ใช่แค่ระบบป้องกัน แต่คือ “วัฒนธรรมความมั่นคงทางไซเบอร์” ไว้ในทุกส่วนขององค์กร
วันที่ 5 พ.ค. 2568
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบันมีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้นทุกวัน การเตรียมตัวเพื่อลดความเสี่ยงสำหรับการป้องกันภัยทางไซเบอร์ ช่วยให้สามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที บทความนี้จะพามาดู 5 เหตุผลว่าทำไมองค์กรถึงควรมี Cyber Security
วันที่ 5 พ.ค. 2568
การมีระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์แบบเรียลไทม์เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญเนื่องด้วยในยุคดิจิทัลที่การโจมตีทางไซเบอร์ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมงและข้อมูลกลายเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ การที่องค์กรมี SOC (Security Operations Center) หรือ ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เป็นแนวป้องกันด่านหน้า ที่คอยเฝ้าระวัง ตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ