บริการของเรา
แผนรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ไม่ใช่แค่เทคโนโลยี
แต่คือ “วัฒนธรรมองค์กร” ที่ควรมี
ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมได้เข้าสู่ยุค Digital Transformation แล้ว ด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า เช่น IoT, AI
การมีระบบอัตโนมัติและการเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์ ทำให้มีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีภายในระบบที่เชื่อมโยงถึงกันตลอดเวลา
ขณะเดียวกันภัยไซเบอร์มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาคอุตสาหกรรมจึงควรมีระบบ Cyber Security เพื่อรักษาความปลอดภัย ป้องกันการถูกโจมตีจากไซเบอร์ที่มีความเสี่ยงสูง
นอกจากนี้องค์กรจึงควรมีการพัฒนาไปสู่แนวคิดที่ลึกกว่าคือ Cyber Resilience หรือ“ความสามารถในการฟื้นตัวและรับมือภัยไซเบอร์อย่างเป็นระบบ”
โดยจากสถิติในปี 2024 พบว่า ภาคการผลิตคือเป้าหมายโจมตีไซเบอร์สูงที่สุดในโลกตลอด 3 ปีที่ผ่านมา จึงถึงเวลาแล้วที่โรงงานและภาคอุตสาหกรรมต้องหันมาให้ความ
สำคัญกับระบบ Cyber Security ผ่านแนวคิด Cyber Resilience ที่ไม่ใช่แค่ระบบป้องกันแต่คือ “วัฒนธรรมความมั่นคงทางไซเบอร์” ไว้ในทุกส่วนขององค์กร
ความแตกต่างของ Cyber Security กับ Cyber Resilience
ต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์
ทำไม Cyber Resilience จึงมีความสำคัญในอุตสาหกรรม
1 การโจมตีที่เพิ่มสูงขึ้น - การโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ทำให้ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดีที่สุดเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปอย่างมั่นคง
2 ระบบที่ไม่สามารถรับมือกับภัยคุกคาม - ระบบ OT และระบบควบคุมอุตสาหกรรมที่ล้าสมัย ทำให้อาจไม่ทันต่อการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดย Cyber Resilience
จะช่วยป้องกันและเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์
3 ความเชื่อมโยงของซัพพลายเชน - ทำให้เกิดช่องโหวในการดำเนินการและง่ายต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์ Cyber Resilience ทำให้เกิดความมั่นคงและปลอดภัยในการดำเนินงาน
3 แนวทางสำคัญของ Cyber Resilience
1 การปรับเปลี่ยนแนวคิด -โดยปรับเปลี่ยนให้การมี Cyber Security เป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็นต่อธุรกิจ
2 ระบบที่เพิ่มความสามารถในการรับมือ - มีการขับเคลื่อนความสามารถในการรับมือทางไซเบอร์ด้วยการฝังระบบความมั่นคงทางไซเบอร์ตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ
และกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ
3 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ - การบริหารจัดการความมั่นคงไซเบอร์อย่างครอบคลุมทั้งเครือข่ายขององค์กรไม่ใช่แค่ในองค์กรตัวเองเท่านั้น แต่รวมถึงซัพพลายเออร์ คู่ค้าและพันธมิตรทุกระดับ
Cyber Resilience เป็นตัวช่วยสำคัญในการเสริมเกราะป้องกันจากความเสี่ยง
ในการถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ จึงไม่ใช่แค่การติดตั้งระบบป้องกันแต่คือ "ความพร้อมของทั้งองค์กร" ในการอยู่รอดอย่างมั่นคงในโลกไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
อ้างอิงเว็บไซต์
วันที่ 5 พ.ค. 2568
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบันมีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้นทุกวัน การเตรียมตัวเพื่อลดความเสี่ยงสำหรับการป้องกันภัยทางไซเบอร์ ช่วยให้สามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที บทความนี้จะพามาดู 5 เหตุผลว่าทำไมองค์กรถึงควรมี Cyber Security
วันที่ 5 พ.ค. 2568
การมีระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์แบบเรียลไทม์เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญเนื่องด้วยในยุคดิจิทัลที่การโจมตีทางไซเบอร์ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมงและข้อมูลกลายเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ การที่องค์กรมี SOC (Security Operations Center) หรือ ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เป็นแนวป้องกันด่านหน้า ที่คอยเฝ้าระวัง ตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ
วันที่ 30 เม.ย. 2568
การโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack) ได้กลายเป็นหนึ่งในความเสี่ยงอันดับต้นๆ ที่องค์กรทั่วโลกต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ต่างมีโอกาสในการตกเป็นเป้าหมายของผู้ไม่หวังดี โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ธุรกิจมีการทำงานผ่านเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า บทความนี้จะพามาทำความรู้จัก 6 รูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์ที่พบได้บ่อย