บริการของเรา
คนไทยกว่า 70% หันมาใช้ AI ในการทำงานกันมากขึ้น
AI ในปัจจุบันเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การเข้ามามีบทบาทของ AI ในชีวิตประจำวันมากขึ้นทำให้ AI กลายเป็นเทคโนโลยีที่มาแรง
และกำลังถูกจับตามอง จากสถิติพบว่าคนไทยกว่า 73.84% มีการใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ประหยัดเวลาและเพิ่มความสะดวกสบาย
โดยเฉพาะในธุรกิจปัจจุบันที่มีการนำ AI เข้ามาใช้ในโลกของธุรกิจ เพื่อยกระดับการทำงาน โดยธุรกิจมีการนำ AI มาใช้ในหลากหลายด้าน ดังนี้
1 ด้านการตลาด - ใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อพัฒนากลยุทธ์ทางการ
ตลาดเป็นการเพิ่มยอดขาย วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าผ่านพฤติกรรม
การใช้งาน ช่วยสนับสนุนการติบโตของธุรกิจ ได้อย่างตรงจุด เช่น ธุรกิจการค้าขาย
ที่นำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการขายเพื่อระบุสินค้าที่ขายดีและขายไม่ดี
2 ด้านบริการ - การนำ AI มาใช้เพื่อช่วยยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
สะดวกและรวดเร็ว เป็นการแบ่งเบาภาระการทำงานของมนุษย์ เช่น การใช้หุ่นยนต์ AI
เสิร์ฟอาหาร, การนำ Chatbot มาใช้เพื่อให้บริการและให้ข้อมูลกับลูกค้าได้แบบเรียลไทม์
3 ด้านการผลิต - นำมาใช้ในการผลิตแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ในทำงานโดยมีมาตรฐานการทำงานที่คงที่ มีความสะดวกและรวดเร็ว ช่วยลดระยะ
เวลาในการทำงาน
4 ด้านระบบการทำงาน - ช่วยยกระดับการทำงานโดยการจัดระเบียบข้อมูล
และเอกสารได้ ส่งผลให้ระบบการทำงานรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
AI กับอนาคตธุรกิจไทย
ธุรกิจไทยมีการนำ AI เข้ามาใช้ในหลากหลายธุรกิจเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและดำเนินธุรกิจ จากข้อมูลจากข้อมูลงานวิจัยโครงการ AI Standard landscape
พบว่าผู้ประกอบการไทยกว่า 75% มีการประยุกต์ใช้ AI ในการผลิตและการให้บริการ โดย Start Up ด้าน AI ของไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงถึง 25%
ซึ่งในอนาคตมีโอกาสที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องสิ่งที่ทำให้ AI ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วคือความสามารถในการเรียนรู้ วิเคราะห์ และการคาดการณ์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น
การนำ AI เข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจจึงเป็นโอกาสใหม่ที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไทยให้เติบโต
เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการเข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่หลายธุรกิจมีการนำ AI มาใช้เพื่อยกระดับธุรกิจให้เติบโตและก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
เว็บไซต์อ้างอิง
วันที่ 5 พ.ค. 2568
ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมได้เข้าสู่ยุค Digital Transformation แล้ว ด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า เช่น IoT, AI การมีระบบอัตโนมัติและการเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์ ทำให้มีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีภายในระบบที่เชื่อมโยงถึงกันตลอดเวลา ขณะเดียวกันภัยไซเบอร์มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาคอุตสาหกรรมจึงควรมีระบบ Cyber Security เพื่อรักษาความปลอดภัย ป้องกันการถูกโจมตีจากไซเบอร์ที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้องค์กรจึงควรมีการพัฒนาไปสู่แนวคิดที่ลึกกว่าคือ Cyber Resilience หรือ“ความสามารถในการฟื้นตัวและรับมือภัยไซเบอร์อย่างเป็นระบบ” โดยจากสถิติในปี 2024 พบว่า ภาคการผลิตคือเป้าหมายโจมตีไซเบอร์สูงที่สุดในโลก ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา จึงถึงเวลาแล้วที่โรงงานและภาคอุตสาหกรรมต้องหันมาให้ความสำคัญกับระบบ Cyber Security ผ่านแนวคิด Cyber Resilience ที่ไม่ใช่แค่ระบบป้องกัน แต่คือ “วัฒนธรรมความมั่นคงทางไซเบอร์” ไว้ในทุกส่วนขององค์กร
วันที่ 5 พ.ค. 2568
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบันมีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้นทุกวัน การเตรียมตัวเพื่อลดความเสี่ยงสำหรับการป้องกันภัยทางไซเบอร์ ช่วยให้สามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที บทความนี้จะพามาดู 5 เหตุผลว่าทำไมองค์กรถึงควรมี Cyber Security
วันที่ 5 พ.ค. 2568
การมีระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์แบบเรียลไทม์เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญเนื่องด้วยในยุคดิจิทัลที่การโจมตีทางไซเบอร์ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมงและข้อมูลกลายเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ การที่องค์กรมี SOC (Security Operations Center) หรือ ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เป็นแนวป้องกันด่านหน้า ที่คอยเฝ้าระวัง ตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ