บริการของเรา
5 รูปแบบการโจมตี (Cyber Attack) ที่ควรรู้จัก
การโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack) ได้กลายเป็นหนึ่งในความเสี่ยงอันดับต้น ๆ ที่องค์กรทั่วโลกต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ
ต่างมีโอกาสในการตกเป็นเป้าหมายของผู้ไม่หวังดี โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ธุรกิจมีการทำงานผ่านเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า
บทความนี้จะพามาทำความรู้จัก 5 รูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์ที่พบได้บ่อย
1 มัลแวร์ (Mallware)
คือซอฟต์แวร์อันตรายที่สร้างมาเพื่อสร้างความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
โดยแฝงตัวเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อทำลายข้อมูล ล้วงความลับหรือควบคุมอุปกรณ์ ซึ่งมีหลายรูปแบบ
เช่น Virus, Spyware, Trojan, Rootkit
2 ฟิชชิ่ง (Pishing)
ภัยคุกคามในรูปแบบการหลอกลวงผู้ใช้ทางออนไลน์ มักใช้การหลอกลวงผ่านรูปแบบของอีเมลล์ เว็บไซต์หรือข้อความในการให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูล
เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลทางบัตรเครดิต หรือการกดเข้าลิงก์ เป็นต้น
3 โจมตีแบบดักกลางทาง (Man-in-the-middle attrack)
การที่บุคคลภายนอกแทรกตัวเข้ามาระหว่างการสื่อสารและใช้งานของผู้ใช้งานกับเซิร์ฟเวอร์เพื่อดักจับหรือ ขโมยข้อมูล
เช่น Wi-Fi ปลอม
4 โจมตีผ่านเว็บแอพลิเคชั่น (SQL Inlection)
การโจมตีโดยการเข้าไปแทรกผ่านช่องโหว่ของเว็บไซต์และเซิร์ฟเวอร์ ส่งผลกระทบกับเวิร์ฟเวอร์หลักขององค์กรโดยตรง
เช่น การดึงข้อมูลลูกค้า การแก้ไขและลบข้อมูลขององค์กร เป็นต้น
5 โจมตีผ่านเว็บไซต์ (Distributed Denial of Service: DDOS)
การโจมตีที่ทำให้ระบบเว็บไซต์ล่ม โดยการที่มีคนพยายามเข้าเว็บไซต์จำนวนมากเกินกว่าที่ระบบเซิร์ฟเวอร์จะรองรับได้
ส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถใช้งานได้ เป็นการโจมตีระบบเป้าหมายพร้อมกัน
ภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นภัยใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในยุคสมัยปัจจุบันที่มีการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
การรู้เท่าทันภัยทางไซเบอร์และการมีระบบการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cyber Security ช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิงเว็บไซต์
วันที่ 5 พ.ค. 2568
ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมได้เข้าสู่ยุค Digital Transformation แล้ว ด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า เช่น IoT, AI การมีระบบอัตโนมัติและการเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์ ทำให้มีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีภายในระบบที่เชื่อมโยงถึงกันตลอดเวลา ขณะเดียวกันภัยไซเบอร์มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาคอุตสาหกรรมจึงควรมีระบบ Cyber Security เพื่อรักษาความปลอดภัย ป้องกันการถูกโจมตีจากไซเบอร์ที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้องค์กรจึงควรมีการพัฒนาไปสู่แนวคิดที่ลึกกว่าคือ Cyber Resilience หรือ“ความสามารถในการฟื้นตัวและรับมือภัยไซเบอร์อย่างเป็นระบบ” โดยจากสถิติในปี 2024 พบว่า ภาคการผลิตคือเป้าหมายโจมตีไซเบอร์สูงที่สุดในโลก ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา จึงถึงเวลาแล้วที่โรงงานและภาคอุตสาหกรรมต้องหันมาให้ความสำคัญกับระบบ Cyber Security ผ่านแนวคิด Cyber Resilience ที่ไม่ใช่แค่ระบบป้องกัน แต่คือ “วัฒนธรรมความมั่นคงทางไซเบอร์” ไว้ในทุกส่วนขององค์กร
วันที่ 5 พ.ค. 2568
ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในปัจจุบันมีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้นทุกวัน การเตรียมตัวเพื่อลดความเสี่ยงสำหรับการป้องกันภัยทางไซเบอร์ ช่วยให้สามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที บทความนี้จะพามาดู 5 เหตุผลว่าทำไมองค์กรถึงควรมี Cyber Security
วันที่ 5 พ.ค. 2568
การมีระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์แบบเรียลไทม์เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญเนื่องด้วยในยุคดิจิทัลที่การโจมตีทางไซเบอร์ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมงและข้อมูลกลายเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ การที่องค์กรมี SOC (Security Operations Center) หรือ ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เป็นแนวป้องกันด่านหน้า ที่คอยเฝ้าระวัง ตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามอย่างรวดเร็วและเป็นระบบ