บริการของเรา
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) คืออะไร
คือ การปกป้องข้อมูล อุปกรณ์ และระบบที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยมุ่งเน้นการป้องกันการเข้าถึงหรือโจมตีที่ไม่ได้รับอนุญาต มาตรการสำคัญประกอบด้วยการเข้ารหัสข้อมูล การยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน และการตรวจจับภัยคุกคามอย่างรวดเร็ว เพื่อเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยและลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมต่อข้อมูลและทรัพย์สินดิจิทัล สามารถแบ่งได้ 6 ประเภทดังนี้
1.ความปลอดภัยเครือข่าย (Network Security) คือ การป้องกันการเข้าถึงข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยมีวิธีป้องกัน เช่น การใช้ไฟร์วอลล์ ระบบตรวจจับการบุกรุก และเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล เป็นต้น
2. ความปลอดภัยแอปพลิเคชัน (Application Security) คือ การป้องกันซอฟต์แวร์ ถูกโจมตี รวมถึงการตรวจสอบโค้ด การสแกนหาช่องโหว่ และการพัฒนาโค้ดด้วยแนวปฏิบัติที่ปลอดภัย
3. ความปลอดภัยข้อมูล (Information Security) คือ การรักษาความปลอดภัยการเข้าถึง การแก้ไข หรือการทำลายโดยไม่ได้รับอนุญาต ด้วยการจัดการสิทธิ์การเข้าถึง การเข้ารหัสข้อมูล และการสำรองข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
4. ความปลอดภัยบนระบบคลาวด์ (Cloud Security) คือ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบที่จัดเก็บบนแพลตฟอร์มคลาวด์ โดยการตั้งค่าระบบการเข้าถึงอย่างเข้มงวด และการใช้การเข้ารหัสข้อมูล
5.ความปลอดภัยอุปกรณ์ IoT (IoT Security) คือ การรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อและเครือข่ายจากภัยคุกคาม เช่น เช่น การใช้โปรโตคอลสื่อสารที่ปลอดภัย การอัปเดตซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง และการบังคับใช้การยืนยันตัวตนที่เข้มงวด
การรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยี (IT Security) คืออะไร
คือ การป้องกันข้อมูลที่พร้อมต่อการใช้งานให้เป็นความลับ เพื่อให้ระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการและประมวลผลข้อมูลขององค์กรมีความปลอดภัย ซึ่งการดูแลรักษาระบบไอทีมีความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวและแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิผลในยุคดิจิทัล สามารถแบ่งได้ 5 ประเภทดังนี้
1.ความปลอดภัยเครือข่าย (Network Security) เป็นการปกป้องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากการเข้าถึงหรือการโจมตีโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น
2.ความปลอดภัยอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint Security) เป็นการป้องกันอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป และมือถือ เช่น
3.ความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต (Internet Security) เป็นการป้องกันข้อมูลที่ส่งผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น
4.ความปลอดภัยบนคลาวด์ (Cloud Security) เป็นการป้องกันข้อมูลและแอปพลิเคชันที่จัดเก็บบนคลาวด์ เช่น
5.การจัดการตัวตนและการเข้าถึง (Identity and Access Management - IAM) เป็นการตรวจสอบสิทธิ์ การเข้าถึงระบบและข้อมูลของผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น เช่น
ความคล้ายคลึงระหว่าง IT Security และ Cybersecurity
Cybersecurity และ IT Security มีเป้าหมายหลักที่เหมือนกัน คือ การปกป้องข้อมูลและการรักษาความปลอดภัยของระบบ แต่ Cybersecurity เป็นการป้องกันข้อมูลดิจิทัลจากการโจมตีทางไซเบอร์ ในขณะที่ IT Security เป็นการป้องกันข้อมูลภายในองค์กรและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี เนื่องด้วยทั้งสองเทคโนโลยีมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยของข้อมูลตึงต้องมีการอัปเดตและตรวจสอบความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การเข้ารหัสและมาตรการรักษาความปลอดภัย เช่น ไฟร์วอลล์และระบบตรวจจับการบุกรุก มีบทบาทสำคัญในการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน นอกจากนี้การฝึกอบรมพนักงานและการพัฒนาวิธีการรับมือกับภัยคุกคามยังมีความสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยภายในองค์กรอีกด้วย
IT Security และ Cybersecurity เปรียบเสมือนเกราะป้องกันข้อมูลสำคัญของธุรกิจในยุคดิจิทัล ช่วยป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตและภัยคุกคามต่าง ๆ ที่อาจทำลายความเชื่อมั่นของลูกค้า โดยการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด นอกจากนี้ การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ เช่น GDPR และ HIPAA การลงทุนในระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงไม่เพียงแต่ช่วยปกป้องข้อมูล แต่ยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าและนักลงทุน และสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรในโลกดิจิทัล
วันที่ 24 ม.ค. 2568
การพัฒนาเทคโนโลยีและการเติบโตของธุรกิจทำให้เกิดช่องโหว่ในการโจมตีทางไซเบอร์ องค์กรจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคาม จากผลสำรวจของ Gartner พบว่าในปี 2024 องค์กรทั่วโลกมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยแบ่งเป็น 41.2% สำหรับคลาวด์, 33.1% สำหรับคลังข้อมูล, 16.8% สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน, 12.6% สำหรับการจัดการความเสี่ยงทั่วไป และ 11.4% สำหรับบริการด้านความปลอดภัย โดยคาดว่าค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัยของข้อมูลทั่วโลกจะสูงถึง 10.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2025 โดยมีประเด็นที่น่าจะตามองกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ดั้งนี้
บทความ
วันที่ 22 ม.ค. 2568
การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอุตสาหกรรมทั่วโลกมีอิทธิพลต่อการยอมรับและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจาก AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กร การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน AI เป็นสิ่งสำคัญในการใช้ข้อมูลอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยสนับสนุนการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ การปรับขนาดตามความต้องการ การทำงานร่วมกันระหว่างทีมอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยรับประกันความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ถูกป้อน โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน AI ดังนี้
บทความ
วันที่ 20 ม.ค. 2568
โอกาสในการสร้างกำไร จากการทำงานที่มีประสิทธิภาพในโลกธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวเพื่อการเติบโตด้วยระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมายได้อย่างราบรื่น
บทความ