บริการของเรา
การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอุตสาหกรรมทั่วโลกมีอิทธิพลต่อการยอมรับและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจาก AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กร การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน AI เป็นสิ่งสำคัญในการใช้ข้อมูลอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยสนับสนุนการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ การปรับขนาดตามความต้องการ การทำงานร่วมกันระหว่างทีมอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยรับประกันความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ถูกป้อน โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน AI ดังนี้
1.กำหนดความต้องการโครงสร้างพื้นฐาน AI จากการประเมินโครงสร้างพื้นฐาน IT เพื่อระบุข้อบกพร่องและลำดับความสำคัญ เพื่อเลือกโซลูชันที่เหมาะสม เช่น คลาวด์หรือไฮบริด พร้อมวางกลยุทธ์การบูรณาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเปิดโอกาสในการใช้นวัตกรรมใหม่ในการขับเคลื่อนองค์กร
2.ยกระดับทักษะพนักงานและร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์และการใช้งาน AI พร้อมส่งเสริมนวัตกรรมและความร่วมมือในองค์กร เพื่อปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็ว
3.พัฒนาแพลตฟอร์มที่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล พร้อมรับมือภัยคุกคามไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ และวางมาตรการจัดการความเสี่ยงครอบคลุมทุกขั้นตอนวงจรชีวิตของระบบ ลงทุนในโซลูชันระบบคลาวด์ที่ยืดหยุ่นและปรับขนาดได้ เพื่อรองรับการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลที่เติบโตตามความต้องการ
4. การร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ AI เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ เพิ่มประสิทธิภาพโซลูชัน AI และบูรณาการเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจและเข้าถึงเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อเร่งการใช้งาน AI อย่างมีประสิทธิภาพ
5.สร้างวัฒนธรรมการใช้ AI และระบบอัตโนมัติบนหลักจริยธรรม โดยคำนึงถึงการปกป้องข้อมูลสำคัญด้วยมาตรการไซเบอร์ที่รัดกุม และการละเมิดลิขสิทธิ์ ควรตรวจสอบการใช้ AI อย่างสม่ำเสมอช่วยลดความเสี่ยงและสร้างความไว้วางใจแก่ลูกค้า
การมีโครงสร้างพื้นฐาน AI ที่แข็งแกร่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับธุรกิจ องค์กรควรวางแผนเชิงกลยุทธ์ เลือกแพลตฟอร์มที่ปลอดภัย และร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในขณะที่การเตรียมเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ยังช่วยลดต้นทุนและสร้างนวัตกรรมอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืน
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
วันที่ 24 ม.ค. 2568
การพัฒนาเทคโนโลยีและการเติบโตของธุรกิจทำให้เกิดช่องโหว่ในการโจมตีทางไซเบอร์ องค์กรจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคาม จากผลสำรวจของ Gartner พบว่าในปี 2024 องค์กรทั่วโลกมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยแบ่งเป็น 41.2% สำหรับคลาวด์, 33.1% สำหรับคลังข้อมูล, 16.8% สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน, 12.6% สำหรับการจัดการความเสี่ยงทั่วไป และ 11.4% สำหรับบริการด้านความปลอดภัย โดยคาดว่าค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัยของข้อมูลทั่วโลกจะสูงถึง 10.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2025 โดยมีประเด็นที่น่าจะตามองกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ดั้งนี้
บทความ
วันที่ 20 ม.ค. 2568
โอกาสในการสร้างกำไร จากการทำงานที่มีประสิทธิภาพในโลกธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวเพื่อการเติบโตด้วยระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมายได้อย่างราบรื่น
บทความ
วันที่ 20 ธ.ค. 2567
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) คืออะไร คือ การปกป้องข้อมูล อุปกรณ์ และระบบที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยมุ่งเน้นการป้องกันการเข้าถึงหรือโจมตีที่ไม่ได้รับอนุญาต มาตรการสำคัญประกอบด้วยการเข้ารหัสข้อมูล การยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน และการตรวจจับภัยคุกคามอย่างรวดเร็ว เพื่อเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยและลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมต่อข้อมูลและทรัพย์สินดิจิทัล สามารถแบ่งได้ 6 ประเภทดังนี้
บทความ